วันอังคารที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2558

ห้องสมุดประชาชน


ห้องสมุดประชาชน

ห้องสมุดประชาชน  คือ ห้องสมุดที่ได้รับเงินสนับสนุนทางการเงินจากรัฐบาลโดยประชาชนเป็นผู้เสียภาษีให้รัฐเพื่อให้บำรุงห้องสมุดเปิดกว้างแก่ประชาชนในท้องถิ่นโดยไม่จำกัดเพศ  วัย  เชื้อชาติ  ศาสนา  ความคิดเห็นทางการเมือง และ ความรู้   ห้องสมุดบางแห่งที่ไม่ได้รับความสนับสนุนทางการเงินจากรัฐบาลแต่เปิดบริการแก่ประชาชนทั่วไปโดยไม่คิดมูลค่าก็ถือว่าเป็นห้องสมุดประชาชนด้วย  และก็เป็นห้องสมุดที่ไม่แสวงหาผลประโยชน์  ตั้งขึ้นเพื่อให้ประชาชนเข้าใช้ และโดยปกติจะได้รับเงินทุนอุดหนุนจากรัฐบาล   ส่วนสมาคมห้องสมุดอเมริกันได้กล่าวถึงความหมายของห้องสมุดประชาชนไว้ว่า ถ้าจะพูดกันถึงความหมายของห้องสมุดประชาชนแล้วเรามักจะคำนึงถึงลักษณะสำคัญ 3 ประการของห้องสมุดประชาชน คือ
1.ห้องสมุดแห่งนั้นมีหน่วยงานของรัฐบาลเป็นผู้ควบคุม
2.ได้รับเงินอุดหนุนจากรัฐบาลโดยประชาชนเป็นผู้เสียภาษีให้แก่รัฐเพื่อใช้บำรุงห้องสมุด
3.จะต้องเปิดให้ประชาชนทุกเพศทุกวัย เข้าใช้บริการอย่างเสรี

วัตถุประสงค์ของห้องสมุดประชาชน
วัตถุประสงค์ของห้องสมุดประชาชนโดยทั่วไปที่สำคัญมีดังต่อไปนี้
1.เป็นแหล่งให้บริการการศึกษานอกโรงเรียนแก่ประชาชนทุกเพศ  ทุกวัย  และ ทุกระดับการศึกษา
2.เป็นแหล่งสนับสนุนการเผยแพร่ความรู้การศึกษาและวัฒนธรรม โดยจัดให้ประชาชนสามารถใช้หนังสือ และวัสดุอื่นๆโดยไม่เสียค่าบริการใดๆ
3.เป็นแหล่งกลางที่จะปลูกฝังให้ประชาชนมีนิสัยรักการอ่าน
4.เป็นศูนย์รวบรวมข่าวสารและความรู้ต่างๆที่ทันต่อเหตุการณ์ และ ความเคลื่อนไหวของโลกที่ให้พื้นฐานทางความคิดของประชาชนโดยส่วนรวม และเป็นพื้นฐานของความเติบโตทางด้านวัฒนธรรมและสติปัญญา
5.เป็นศูนย์รวมของกิจกรรมทางด้านวัฒนธรรมของท้องถิ่น
6.เป็นแหล่งกลางในการส่งเสริมให้ประชาชนได้ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ และรู้จักพักผ่อนหย่อนใจด้วยการอ่านหนังสือ
7.เป็นแหล่งส่งเสริมกิจกรรมทางด้านการศึกษาและวัฒนธรรมของกลุ่มชน หรือ องค์การในสังคม เพื่อพัฒนาความเป็นอยู่ของประชาชนทุกคนในสังคม
8.เป็นแหล่งปลูกฝังความรับผิดชอบทางการเมืองแก่ประชาชนทุกคน
9.เป็นแหล่งส่งเสริมแนะนำให้ประชาชนมีความรู้  ทัศนคติ และสามารถปฏิบัติตนเป็นพลเมืองดีตามระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข
10.เป็นแหล่งที่ประชาชนสามารถใช้หนังสือและวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ ให้เกิดประโยชน์ได้อย่างเต็มที่ตามความต้องการและสภาพแวดล้อมของประชาชน

องค์ประกอบของห้องสมุดประชาชน
1.อาคาร  และ วัสดุครุภัณฑ์
1.1.ควรมีอาคารเป็นเอกเทศ  สามารถดำเนินงานได้คล่องตัว
1.2.ควรตั้งอยู่ในย่านชุมชน  การคมนาคมสะดวก
1.3.บรรยากาศรื่นรมย์ ทำให้ผู้อยากเข้าไปใช้บริการ
1.4.มีอุปกรณ์อำนวยความสะดวกไม่อัตคัดขาดแคลนจนเกิดความไม่คล่องตัวในการให้บริการ
1.5.ไม่มีเสียงรบกวน
1.6.อยู่ในที่ไม่จำกัด สามารถขยายได้ในอนาคต
2.หนังสือ   สิ่งพิมพ์   และโสตทัศนูปกรณ์
2.1.หนังสือ  ห้องสมุดประชาชนควรมีหนังสือดึงต่อไปนี้
                        2.1.1.หนังสืออ่านเพื่อความเพลิดเพลินควรมีปริมาณมากกว่าหนังสือประเภทอื่นๆ
                        2.1.2.หนังสือสารคดีทั่วๆไป
                        2.1.3.หนังสือสำหรับเด็ก
                        2.1.4.หนังสืออ้างอิง
                        2.1.5.หนังสืออื่นๆ
            2.2.วารสาร  และ หนังสือพิมพ์
            ควรมีวารสาร และหนังสือพิมพ์ที่เหมาะสมกับความต้องการ และความจำเป็นของท้องถิ่น
            การจัดหาวารสาร ควรมีทั้งวิชาการ และเพื่อความบันเทิง หากมีหนังสือเพื่อความบันเทิงมากแล้ววารสารเพื่อความบันเทิงก็ ไม่สู้จำเป็นนัก
            การจัดหาหนังสือพิมพ์ ปกติหนังสือพิมพ์ส่วนมากจะเสนอข่าวในแนวเดียวกันคล้ายกัน อาจต่างกันที่วิธีเสนอข่าว การใช้คำพูด  การจัดรูปเล่ม ฉะนั้นจึงไม่มีความจำเป็นที่ห้องสมุดจะต้องซื้อหนังสือพิมพ์มากฉบับนัก หากมีเงินน้อยและไม่มีผู้บริจาค
            2.3.สิ่งพิมพ์อื่นๆ และโสตทัศนูปกรณ์
                        2.3.1.สิ่งพิมพ์อื่นๆ เช่น จุลสาร   กฤตภาค   เอกสารอื่นๆ ที่เป็นประโยชน์แก่ประชาชนในท้องถิ่นห้องสมุดก็ควรขวนขวายหามาให้
                        2.3.2.อุปกรณ์โสตทัศนูปกรณ์ ห้องสมุดควรมีโสตทัศนูปกรณ์ เช่น ภาพยนตร์  ภาพนิ่ง  ฯลฯ หากเป็นไปได้ควรมีห้องทำกิจกรรมเกี่ยวกับโสตทัศฯวัสดุ เช่น ห้องฉายภาพยนตร์ เป็นต้น
3.คณะกรรมการห้องสมุด   -  กิจการห้องสมุดประชาชนจะดำเนินไปด้วยความราบรื่น และ ก้าวหน้าด้วยดีไม่ได้ ถ้าขาดความร่วมมือจาก คณะกรรมการห้องสมุดตามปกติคณะกรรมการห้องสมุดจะประกอบด้วยบุคคลดังต่อไปนี้
            3.1.ผู้ว่าราชการจังหวัด  หรือนายอำเภอ  เป็นประธานคณะกรรมการ
            3.2.ศึกษาธิการจังหวัด หรือศึกษาธิการอำเภอ  เป็นรองประธานคณะกรรมการ
            3.3.บรรณารักษ์ หรือเจ้าหน้าที่ห้องสมุดเป็นกรรมการและเลขานุการ และคณะกรรมการอื่นๆอีกตามแต่จะเห็นสมควร และผู้ที่ควรจะเชิญเป็นกรรมการควรมาจากหลายๆอาชีพอาจเชิญ พ่อค้า คหบดี หรือผู้ที่เป็นที่รู้จักกันดีในท้องถิ่นเพราะจะเป็นการประชาสัมพันธ์งานห้องสมุด และอาจจะช่วยในการหาหนังสือ หรือ วัสดุต่างๆเข้าห้องสมุดด้วยก็ได้
4.ผู้บริหาร   -   งานห้องสมุดประชาชนจะประสบปัญหา ถ้าผู้บริหารไม่เข้าใจวัตถุประสงค์ หน้าที่ และขอบข่ายการดำเนินงานของห้องสมุดประชาชน ห้องสมุดจะเป็นเหมือนโกดังเก็บหนังสือ หรือห้องอ่านหนังสือเท่านั้น  บรรณรักษ์ หรือเจ้าหน้าที่ก็จะเปรียบเหมือนผู้เฝ้าห้องสมุด นับวันก็จะมีแต่ทรุดลง และถึงกับต้องปิดตัวเองไปในที่สุดผู้บริหารจะต้องทำความเข้าใจกับงานต่างๆของห้องสมุดประชาชนให้ได้ และหาทางสนับสนุนเพื่อให้ทำงานตรงตามความมุ่งหมาย
5.ผู้ใช้   -   เป็นบุคคลที่สำคัญที่สุดในกิจการของห้องสมุด หากไม่มีผู้ใช้ห้องสมุดก็อยู่ไม่ได้ ฉะนั้นบริการกิจกรรมทุกอย่างควรจัดขึ้นโดยนึกถึงผู้ใช้เป็นสำคัญ ควรสอบถามความต้องการก่อนและหากเป็นไปได้ควรไห้มีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมทุกครั้ง
6.บรรณารักษ์และผู้ร่วมงาน  -   กลไกที่สำคัญรองลงมาจากผู้ใช้ คือ ผู้ดำเนินงานหรือ บรรณารักษ์และผู้ร่วมงานทุกคน ซึ่งจะเป็นพื้นฐานที่สำคัญที่จะให้งานห้องสมุดดำเนินไปได้

คุณสมบัติของบรรณารักษ์ หรือ เจ้าหน้าที่ห้องสมุดประชาชนที่ควรเป็น
1.ได้รับการศึกษาหรืออบรมทางวิชาบรรณารักษ์ศาสตร์มาแล้ว
2.เข้าใจในหน้าที่  วัตถุประสงค์และ นโยบายของห้องสมุดประชาชนอย่างดีและลึกซึ้งเพียงพอ
3.มีความรู้เรื่องจิตวิทยาธรรมชาติของมนุษย์
4.สนใจ และมีความรู้เกี่ยวกับบุคคลทุกระดับในท้องถิ่นที่ห้องสมุดตั้งอยู่
5.สนใจ และหากเป็นไปได้ควรได้เข้าร่วมกับกิจกรรมของชุมชนในท้องถิ่นนั้นเท่าที่จะทำได้
6.มีมนุษย์สัมพันธ์ ทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ดี
7.รักหนังสือ  รักการอ่าน ศึกษาหาความรู้เพื่อทำตนให้ทันเหตุการณ์อยู่เสมอ
8.มีเจตคติที่ดี และมีความศรัทธาต่ออาชีพบรรณารักษ์
9.มีใจเป็นนักประชาธิปไตย พร้อมที่จะรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะอันเป็นประโยชน์และชอบด้วยเหตุผล
10.มีความคิดริเริ่ม ในกิจการอันจะเป็นประโยชน์แก่ผู้ใช้ทุกด้าน
11.สามารถในการแก้ไขปัญหา และเหตุการณ์เฉพาะหน้าด้วยวิธีการอันนิ่มนวล
12.มีคุณสมบัติที่ดีในการปฏิบัติงาน เช่น ขยัน   อดทน  ตรงต่อเวลา     มีระเบียบ   ว่องไวกระฉับกระเฉง  สะอาด  มั่นใจในตัวเอง  ฯลฯ


บรรณานุกรม

ฐิติยา   เนตรวงษ์     รัชฎาพร   ธิราวรรณ  และ จิตชิน  จิตติสุธพงษ์.(2552,กันยายน-ธันวาคม).
การให้บริการและการใช้ห้องสมุดประชาชนจังหวัดในประเทศไทย.วิจัย  มสด,5(3),
หน้า27-29
สุภัทรา   ฉัตรเงิน.(2520).ห้องสมุดประชาชน.กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
สามัญศึกษา,กรม.(2520).คู่มือการปฏิบัติงานห้องสมุดประชาชน.กรุงเทพฯ: กรมสามัญศึกษา.
จุมพจน์    วนิชกุล.(2531).ห้องสมุดประชาชน.กาญจนบุรี: ฝ่ายเอกสารและตำรา สำนักส่งเสริม
วิชาการมหาวิทยาลุยทวารวดี วิทยาลัยครูกาญจนบุรี.
ห้องสมุดประชาชน.(2545).ค้นเมื่อ กุม๓พันธ์ 2,2558, จาก
www.wachum.com/eBook/.../pub1.html.


วันอังคารที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2558

ความประทับใจที่มีต่อ สาขาบรรรารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์

ความประทับใจที่มีต่อ สาขาบรรรารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์

ความประทับใจที่มีต่อ สาขาบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์  คือ สาขาวิชานี้เป็นสาขาที่มีความน่าสนใจมาก และเป็นสาขาที่มีการเรียนการสอนที่น่าสนใจ วันแรกที่ได้เข้ามาในรั้วมหาลัยก็รู้สึกดีใจที่ได้มาเรียนอยู่ในสาขานี้ เพราะได้มาเจอเพื่อนๆที่น่ารักและอาจารย์ที่คอยให้คำปรึกษาอยู่เสมอ บริเวณห้องเรียนก็ทีความสะดวกสบายสาขานี้เวลาเราเรียนจบมาแล้วโอกาสที่จะตกงานน้อยมากเพราะสาขวิชานี้เป็นสาขาที่กำลังต้องการของ อาจารย์เป็นบุคคลที่สำคัญในชีวิตของเราเพราะอาจารย์เปรียบเสมือนแม่คนที่สองที่คอยอบรมสั่งสอนเรามาตั้งแต่อนุบาลจนถึงโตเป็นผู้ใหญ่และอาจารย์ไม่ใช่แค่อบรมสั่งสอเราเท่านั้นแต่อาจารย์ยังให้ความรู้แก่เรามากมายและยังสอนให้เราเป็นคนดีอีกด้วย  เพื่อนๆก็มีความน่ารักทุกคนคอยช่วยเหลืออยู่ตลอดเวลาจึงทำให้รู้สึกว่าคิดไม่ผิดเลยที่เลือกมาเรียนในสาขาวิชาบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์เพราะเป็นสาขาที่ให้ทั้งความรู้และความสุขสนุกสนานเฮฮา