วันอาทิตย์ที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2558

แนะนำสถานที่ดูงาน จังหวัดเชียงใหม่ , เชียงราย

แนะนำสถานที่ดูงาน จังหวัดเชียงใหม่ , เชียงราย


โดย นายรุ่งโรจน์   อยู่เอี่ยม


1.วัดร่องขุ่น


ประวัติและความเป็นมา
วัดร่องขุ่น เป็นวัดที่สร้างขึ้นจากแรงศรัทธาของ อ.เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ ศิลปินของจังหวัดเชียงราย เพื่อมุ่งสร้างงานพุทธศิลป์ที่มีเอกลักษณ์ของตัวเองและประกาศความยิ่งใหญ่ต่อคนทั้งโลกเพื่อถวายต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จนเป็นที่รู้จักของชาวต่างชาติในนาม "White Temple" ระยะเวลาในการสร้างนั้นไม่มีกำหนดจนกว่าจะแล้วเสร็จ ซึ่งได้วางแผนทุกอย่างไว้หมดแล้วทั้งลูกศิษย์ที่สานต่อและทุนทรัพย์ ประชาชนคนไทยต้องหาโอกาสสักครั้งเพื่อมาชมวัดร่องขุ่น งานพุทธศิลป์ที่ยิ่งใหญ่แห่งนี้ให้ได้

วัดร่องขุ่น เริ่มก่อสร้างตั้งแต่ พ.ศ. 2540 โดยท่านอาจารย์เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ จิตรกรชั้นแนวหน้าของไทย ซึ่งได้รับแรงบันดาลใจในการสร้างมาจาก3 สิ่งต่อไปนี้คือ
1. ชาติ : ด้วยความรักบ้านเมือง รักงานศิลป์ จึงหวังสร้างงานศิลปะที่ยิ่งใหญ่ไว้เป็นสมบัติของแผ่นดิน
2. ศาสนา : ธรรมะได้เปลี่ยนชีวิตของอาจารย์เฉลิมชัยจากจิตที่ร้อนกลายเป็นเย็น จึงขออุทิศตนให้แก่พระพุทธศาสนา

3. พระมหากษัตริย์ : จากการเข้าเฝ้าฯ ถวายงานพระองค์ท่านหลายครั้ง ทำให้อาจารย์เฉลิมชัยรักพระองค์ท่านมาก จากการพบเห็นพระอัจฉริยะภาพทางศิลปะและพระเมตตาของพระองค์ท่าน จนบังเกิดความตื้นตันและสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ

ลักษณะเด่นของวัดร่องขุ่น

คือพระอุโบสถที่ตกแต่งด้วยสีขาวเป็นพื้น ประดับด้วยกระจกแวววาววิจิตรงดงามแปลกตา บนปูนปั้นเป็นลายไทย โดยเฉพาะภาพพระพุทธองค์หลังพระประธานซึ่งเป็นภาพที่ใหญ่งดงามมาก เหนืออุโบสถที่ประดับด้วยสัตว์ในเทพนิยาย เป็นรูปกึ่งช้างกึ่งวิหคเชิดงวงชูงา ดูงดงามแปลกตาน่าสนใจมาก ภาพจิตรกรรมฝาผนังภายในพระอุโบสถก็เป็นฝีมือภาพเขียนของอาจารย์เอง


2.สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย

ประวัติ

มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงรายเป็นสถาบันอุดมศึกษาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ซึ่งมีภารกิจหลักที่ สำคัญ คือการผลิตบัณฑิตและพัฒนาคนที่มีคุณภาพโดยการให้โอกาสประชาชนทุกระดับได้มีโอกาสทางการศึกษาและนอกจากนี้ มหาวิทยาลัยฯยังคงได้กำหนดทิศทางการพัฒนาในการสร้างและถ่ายทอดองค์ความรู้สู่สังคม  ด้วยการให้บริการวิชาการแก่สังคมให้ครอบคลุมทุกกลุ่มประชากรและภาคส่วนต่างๆ  การให้บริการวิชาการแก่สังคม จึงเป็นภาระหน้าที่ที่สำคัญของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงรายอีกด้านหนึ่ง โดยในปี พ.ศ.2543 มหาวิทยาลัยฯ จึงได้ก่อตั้งสำนักบริการวิชาการแก่สังคมขึ้น โดยมีหน้าที่ให้ บริการวิชาการแก่สังคม ในหลากหลายรูปแบบ โดยเฉพาะการทำหน้าที่เสริมสร้างความเข้มแข็งให้แก่ชุมชน และเศรษฐกิจฐานราก ซึ่งการให้บริการวิชาการแก่สังคมดังกล่าว ได้ดำเนินการภายใต้ยุทธศาสตร์ของ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย คือ ยุทธศาสตร์การพัฒนาไปสู่การเป็นมหาวิทยาลัยเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น และ ยุทธศาสตร์ด้านการบริการวิชาการแก่สังคม


ต่อมาในวันที่ 10 มีนาคม 2548 มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย จึงได้ประกาศ จัดตั้งหน่วยงานระดับโครงการจัดตั้งในมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย และประกาศมหาวิทยาลัย เรื่อง หน่วยงานของ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย เมือวันที่ 5 พฤศจิกายน 2549 ซึ่งสำนักบริการวิชาการแก่สังคมเป้นอีกหน่วยงาน หนึ่งที่ได้รับการประกาศจัดตั้ง และทางคณะกรรมการสภามหาวิทยาลัย ได้เห็นชอบในการกำหนดค่าน้ำหนัก มาตรฐานในการประเมินคุณภาพภายนอก เพื่อการรับรองมาตรฐานการศึกษาระดับอุดมศึกษา มหาวิทยาลัย ราชภัฏเชียงราย พ.ศ. 2549 คือ มาตรฐานด้านการบริการวิชาการ ซึ่งได้กำหนดค่าน้ำหนักของสถานศึกษา คิดเป็นร้อยละ 35 ซึ่งเป็นภารกิจที่สำคัญของสำนักบริการวิชาการที่จะต้องดำเนินงานเพื่อตอบสนอง ยุทธศาสตร์ ของมหาวิทยาลัยฯ เพื่อให้เกิดการพัฒนาท้องถิ่นอย่างแท้จริงต่อไป



3.พระธาตุดอยตุง พระตำหนักดอยตุง สวนแม่ฟ้าหลวง

 พระธาตุดอยตุง


ดอยตุงเป็นแหล่งท่องเที่ยวเด่นของเชียงราย อยู่เหนือจากตัวเมืองเชียงรายประมาณ 45 กิโลเมตร  ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่อำเภอแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย ลักษณะเป็นเทือกเขาสูงทอดตัวยาวอยู่ทางด้านซ้ายของเส้นทางที่มุ่งไปอำเภอแม่สาย แต่เดิมเป็นเทือกเขาหัวโล้นที่ถูกชาวเขาตัดทำลายเพื่อใช้พื้นที่ทำการเกษตร  จนกระทั่งสมเด็จย่าได้เสด็จมายังดอยตุงและทรงมีพระราชดำรัสว่า ฉันจะปลูกป่าดอยตุง  หลังจากนั้นในปี 2530  รัฐบาลจึงได้เริ่มจัดทำโครงการพัฒนาดอยตุงขึ้นโดยปลูกป่าคืนความสมบูรณ์กลับคืนสู่ธรรมชาติ ได้ดึงชาวเขาเข้ามาทำงานในโครงการปลูกป่าดอยตุง  แต่ก่อนนั้นเส้นทางขึ้นดอยตุงเป็นเส้นทางลอยฟ้า คือเมื่อนั่งรถบนถนนดอยตุงแล้วมองลงมาก็จะเห็นวิวโล่งๆ ไม่มีต้นไม้มาบดบังทัศนียภาพ แต่ในปัจจุบันนี้ดอยตุงกลับคืนสภาพเป็นป่าที่อุดมสมบูรณ์อีกครั้งหนึ่งเมื่อนั่งรถไปตามเส้นทางขึ้นดอยตุงจะเห็นแต่ต้นไม้แน่นขนัดนั่นล้วนเป็นป่าปลูกทั้งสิ้น  หลังจากโครงการปลูกป่าแล้วเสร็จจึงได้มีการสร้างพระตำหนักดอยตุง และมีโครงการอีกหลายๆ โครงการตามมาเพื่อสร้างอาชีพให้กับคนในท้องถิ่นจากเทือกเขาหัวโล้นกลับกลายมาเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่โดดเด่นที่สุดของเชียงราย แต่ละปีมีนักท่องเที่ยวขึ้นไปเที่ยวดอยตุงเป็นจำนวนมาก  แหล่งท่องเที่ยวบนดอยตุงที่นักท่องเที่ยวขึ้นไปเยี่ยมชมได้แก่  สวนแม่ฟ้าหลวง  พระตำหนักดอยตุง  พระธาตุดอยตุง  สวนรุกขชาติแม่ฟ้าหลวงดอยช้างมูบ

ไร่แม่ฟ้าหลวง  หรือสวนดอยตุง


เป็นสวนไม้ดอกไม้ประดับเมืองหนาวบนพื้นที่ 25 ไร่ อยู่ในแอ่งที่ราบด้านทิศเหนือของพระตำหนัก  สร้างเมื่อปี พ.ศ. 2534 ภายในสวนถูกตกแต่งด้วยพันธุ์ไม้ดอกไม้ประดับสวยงาม ผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนออกดอกตลอดปี  กลางสวนมีประติมากรรมเด็กยืนต่อตัว งานประติมากรรมนี้ได้รับพระราชทานชื่อว่า " ความต่อเนื่อง "  นอกจากแปลงไม้ประทับกลางแจ้งแล้วยังมีโรงเรือนไม้ในร่ม จุดเด่นคือกล้วยไม้จำพวกรองเท้านารีชนิดต่างๆ ที่มีดอกสวยงามมาก

พระตำหนักดอยตุง



เป็นที่ประทับแปรพระราชฐานเพื่อทรงงานของสมเด็จย่า ปลูกแบบง่ายๆ ด้วยพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์  พระตำหนักสร้างด้วยไม้ทั้งหลังโดยมีโครงเหล็กอยู่ภายใน ไม้ในการสร้างเป็นไม้ลังใส่สินค้าที่การท่าเรือฯ คลองเตย ทูลเกล้าถวายแด่สมเด็จย่า  เมื่อสร้างออกมาแล้วสวยงามยิ่งนัก รูปแบบการสร้างเป็นการผสมผสานสถาปัตยกรรมล้านนากับบ้านพื้นเมืองสวิตเซอร์แลนด์  ที่เพดานห้องโถงทำเป็นเพดานดาว  บริเวณด้านหลังพระตำหนักมีระเบียงยืนออกไป เมื่อยืนที่ระเบียงจะเห็นทัศนียภาพของดอยตุงที่สวยงาม บริเวณขอบระเบียงมีกระบะปลูกไม้ดอกที่มีสีสันสวยงาม  พระตำหนักเปิดให้นักท่องเที่ยวเข้าชม  โดยจะต้องมีมัคคุเทศก์ของพระตำหนักเป็นผู้นำเยี่ยมชม

4.สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยแม่โจ้


พ.ศ. ๒๔๖๐ เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี สนาบดีกระทรวงธรรมการได้จัดตั้งโรงเรียนฝึกหัดครูประถมกสิกรรม ขึ้นที่บริเวณหอวัง หรือบ้านสวนหสวงสระประทุมบริเวณกรีฑาสถานแห่งชาติในปัจจุบัน เรียกว่า "โรงเรียนฝึกหัดครูประถมกสิกรรมหอวัง" จึงเป็นจุดเริ่มแรกของฐานความคิด และกิจกรรมของรัฐด้านให้การศึกษาแผนใหม่ทางการเกษตร
พ.ศ. ๒๔๗๗ กระทรวงธรรมการได้จัดตั้งเป็น โรงเรียนฝึกหัดครูประถมกสิกรรมภาคเหนือ โดยรับนักเรียนจากผู้ที่สำเร็จมัธยมปีที่ 6 หลักสูตรกำหนดเวลาเรียน 2 ปี โดยมีพระช่วงเกษตรศิลปการ ซึ่งขณะนั้นเป็นหัวหน้าสถานีทดลองกสิกรรมภาคพายัพ ดำรงตำแหน่งเป็นอาจารย์
พ.ศ. ๒๔๗๙ กระทรวงธรรมการได้จัดตั้ง "โรงเรียนมัธยมวิสามัญเกษตรกรรมภาคเหนือขึ้น" โดยใช้สถานที่ร่วมกับโรงเรียนฝึกหัดครู ประถมกสิกรรมประจำภาคเหนือ โรงเรียนวิสามัญเกษตรกรรมที่ตั้งขึ้นใหม่นี้มีหลักสูตรเวลาเรียน 4 ปี โดยรับจากผู้ที่สำเร็จชั้นมัธยมปีที่ 4โรงเรียนสามัญ เมื่อเรียนจบแล้ว กระทรวงธรรมการกำหนดให้มีวิทยฐานะ เทียบเท่าชั้นมัธยมปี่ที่
พ.ศ. ๒๔๘๑ กระทรวงธรรมการ ได้ยุบเลิกโรงเรียนมัธยมวิสามัญเกษตรกรรมภาคใต้ ที่คอหงส์ จังหวัดสงขลา โรงเรียนมัธยมวิสามัญเกษตรกรรมภาคกลาง  บางกอกน้อย ธนบุรี และโรงเรียนมัธยมวิสามัญเกษตรกรรมภาคอีสาน ที่โนนวัด จังหวัดนครราชสีมา และโอนกิจการทั้งหมดของโรงเรียนเหล่านั้น มารวมกันที่มัธยมวิสามัญเกษตรกรรมภาคเหนือที่แม่โจ้ เพียงแห่งเดียว ในปีเดียวกันนี้เอง ได้โอนกิจการจากกระทรวงธรรมการ ไปอยู่ในความดูแลของ กระทรวงเกษตราธิการ และเปลี่ยนเป็นวิทยาลัยเกษตรศาสตร์แม่โจ้ โดยได้รับผู้ที่สำเร็จ จากหลักสูตรมัธยมวิสามัญเกษตรกรรม เพื่อเข้าศึกษาตามหลักสูตรอนุปริญญา เป็นเวลา 3 ปี ทางเกษตรศาสตร์ สหกรณ์และวนศาสตร์
พ.ศ. ๒๔๘๒ กระทรวงเกษตราธิการได้จัดตั้งวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ขึ้นที่เกษตรกลาง บางเขน กรุงเทพฯ และที่แม่โจ้ให้เตรียม เป็นวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ หลักสูตรเวลาเรียน 2 ปี โดยรับจากผู้สำเร็จชั้นมัธยมปีที่ 6 สำเร็จจึงเข้าศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัย
เกษตรศาสตร์บางเขนได้เลย
พ.ศ. ๒๔๘๖ เปลี่ยนเป็น "โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์" ทั้งนี้เพราะวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ที่บางเขน ได้รับการสถาปนาเป้นมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
พ.ศ. ๒๔๙๑ กระทรวงเกษตราธิการได้โอนกิจการให้แก่กรมอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการและเปลี่ยนเป็น "โรงเรียนเกษตร กรรมแม่โจ้" รับจากผู้สำเร็จชั้นมัธยมปีที่ 6 (ม. 3 ปัจจุบัน) เข้าศึกษาต่ออีก 3 ปี สำเร็จแล้วได้รับประกาศนียบัตรอาชีวชั้นสูง แผนกเกษตรกรรม โยเริ่มดำเนินการรับนักเรียนประเภทนี้ ตั้งแต่ พ.ศ. 2492 เป็นต้นมา
พ.ศ. ๒๔๙๙ ได้รับการ "ยกฐานะเป็นวิทยาลัยเกษตรกรรมเชียงใหม่" และขยายหลักสูตรถึงประโยคครูมัธยมเกษตรกรรม(ปมก.)
พ.ศ. ๒๕๐๕ ย้ายกิจการฝึกหัดครูมัธยมเกษตรกรรม ไปเปิดดำเนินการที่วิทยาลัยเกษตรกรรมบางพระ อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี และ "เปิดหลักสูตรเทคนิคเกษตร" หรือ "ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงแผนกเกษตรกรรม" ขึ้นเป็นแห่งแรก
พ.ศ. ๒๕๑๘ ได้รับการสถาปนาเป็น "สถาบันเทคโนโลยีการเกษตร" โดยพระราชบัญญัติสถาบันเทคโนโลยีการเกษตร พ.ศ. 2518

พ.ศ. ๒๕๒๕ เปลี่ยนชื่อจากสถาบันเทคโนโลยีการเกษตร เป็น "สถาบันเทคโนโลยีการเกษตรแม่โจ้" ตามประกาศในพระราชกิจจานุเบกษา ฉบับพิเศษ หน้า 4 เล่ม 99 ตอนที่ 15 ราชกิจจานุเบกษา 3 กุมภาพันธ์ 2525 เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัตินี้คือ เนื่องจาก วิทยาลัยเกษตรกรรม เชียงใหม่ หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า วิทยาลัยเกษตรกรรมเชียงใหม่ หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า วิทยาลัยเกษตรกรรมแม่โจ้ เป็นที่รู้จักของคนทั่วไป ทั้งประเทศ เนื่องจากมีนักศึกษาที่มาจากทุกภาคของประเทศ ได้เข้าไปศึกษา ณ สถาบันนี้ แต่เมื่อวิทยาลัยเกษตรกรรมเชียงใหม่ ได้ยกฐานะขึ้นเป็น" สถาบันเทคโนโลยีการเกษตร นามนี้จึงไม่เป็นที่รู้จักของคนทั่วไป จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัติฉบับนี้ขึ้น

5.พระธาตุดอยสุเทพ


วัดพระธาตุดอยสุเทพ หรือ ที่ชาวบ้านนิยมเรียกกันว่า วัดดอยสุเทพ นั้น เป็นวัดที่สำคัญแห่งหนึ่งของเชียงใหม่ มีฐานะเป็นพระอารามหลวงชั้นราชวรวิหาร ตั้งอยู่บนดอยสุเทพ ( สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ ๓ , ๐๕๑ ฟุต ) เลขที่ ๑๒๔ บ้านดอยสุเทพ หมู่ที่ ๙ ตำบลสุเทพ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ มีที่ดินตั้งวัดเนื้อที่ ๓๖ ไร อยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ - ปุย ( ดูเพิ่มที่ อุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ - ปุย ) อนึ่ง วัดแห่งนี้สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย

สร้างขึ้นเมื่อ พ . ศ . ๑๙๒๖ ในสมัยของพระญากือนามหาราชและได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาในปี พ . ศ . ๒๐๑๐ โดยมีตำนานที่เล่าเกี่ยวกับวัดพระธาตุดอยสุเทพไว้ว่า ในสมัยพระญากือนา กษัตริย์องค์ที่ ๖ แห่งราชวงศ์มังราย ( ครองราชย์ พ . ศ . ๑๘๙๘ - ๑๙๒๘ ) ผู้ทรงมีความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนามากได้โปรดให้สร้างพระเจดีย์บนดอยสุเทพ โดยทรงนิมนต์พระมหาสุมนเถระเจ้าจากเมืองสุโขทัยให้มาประกาศศาสนาที่เมือง เชียงใหม่ และในครั้งนั้น พระมหาสุมนเถระเจ้าได้นำเอาพระบรมธาตุของพระพุทธเจ้ามาด้วย พระญากือนาเกิดความเลื่อมใสมาก จึงโปรดให้มีพิธีสรงน้ำพระบรมธาตุเพื่อจะได้อัญเชิญไปบรรจุไว้ในสถูปเจดีย์ ของวัดบุปผาราม ในขณะที่กระทำพิธีสรงน้ำพระบรมธาตุอยู่นั้นเอง พระบรมธาตุได้แยกออกเป็นสองส่วน พระญากือนากับพระมหาสวามีสุมนะจึงได้พร้อมใจกันทำพิธีบรรจุพระบรมธาตุองค์ ใหม่ไว้ที่วัดสวนดอก ส่วนพระบรมธาตุองค์เดิมนำไปประดิษฐานไว้ที่ดอยสุเทพ โดยเริ่มจากการอัญเชิญผอบพระบรมสารีริกธาตุขึ้นสถิตเหนือเศวตคชาธารช้างมงคล แล้ว อธิษฐานเสี่ยงช้างพระที่นั่งปล่อยไป หากพระบรมธาตุประสงค์จะสถิตอยู่ ณ ที่ใด ก็ขอให้ช้างมงคลหยุด ณ ที่แห่งนั้น และในระหว่างทางที่ช้างมงคลเดินทางไป ก็ได้หยุดเดินถึงสามครั้งทำให้เกิดชื่อของดอยช้างนูนและดอยงาม ครั้งที่สามซึ่งถือเป็นครั้งสำคัญ เนื่องจากช้างมงคลได้ไต่เขาไปจนถึงยอดดอยวาสุเทพบรรพตแล้วร้องเสียงดังจน ก้องสะท้านไปทั่วภูเขา เมื่อเดินประทักษิณ ๓ รอบแล้วจึงคุกเข่าหมอบลง และทันทีที่อาราธนาพระบรมธาตุลงจากหลังแล้ว ช้างมงคลนั้นล้มลงตายในทันที ซึ่งหมายความว่าจะไม่ยอมเป็นพาหนะของผู้ใดอีก

6.พระธาตุดอยอินทนนท์



ตั้งอยู่บนกม.ที่ 41.5 ทางด้านซ้ายมือ สร้างขึ้นโดยกองทัพกอากาศร่วมกับพสกนิกรชาวไทย โดยพระมหาธาตุนภเมทนีดล สร้างถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวโรกาสทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ 5 รอบเมื่อปี พ.ศ. 2530 และพระมหาธาตุนภพลภูมิสิริสร้างถวายสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถในวโรกาสทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ 5 รอบเมื่อปีพ.ศ. 2535 พระมหาธาตุทั้ง 2 องค์นี้มีรูปทรงคล้ายคลึงกัน คือมีฐานเป็นรูป 12 เหลี่ยม มีระเบียงแก้วโดยรอบเป็น 2 ระดับ เป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ และพระพุทธรูปบูชา รอบบริเวณสามารถมองเห็นทิวทัศน์ของดอยอินทนนท์โดยรอบได้อย่างสวยงาม


1 ความคิดเห็น:

  1. Slot Machines Near Me - The City of Oklahoma
    강원 랜드 여자 앵벌이 › Oklahoma › Oklahoma The Top 10 Places to Play Slots Near 가입시 꽁머니 사이트 Me 넥스트 벳 · Kansas Wild Casino · Sloto Cash Casino 세븐 포커 족보 · Best Casinos for Playing Slots · Red Dog Casino 외국 라이브 · Rocky Gap Casino · Hollywood

    ตอบลบ